ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อก "ทองม้วน"

สวัสดีทุกท่านที่แวะเข้ามาเยี่ยมเยียนที่บล็อก ทองม้วน ไม่ว่าจะเข้ามาโดยตั้งใจ หรือบังเอิญผ่านเข้ามาก็ตามแต่

ก็ขอกล่าวคำว่า "ยินดีต้อนรับ"

ภายในบล็อก ทองม้วน ก็จะประกอบไปด้วย ประวัติความเป็นมาของขนมทองม้วน วิธีทำขนมทองม้วน สูตรและส่วนผสมต่างๆ รูปภาพขนมทองม้วน
พร้อมรับทำ จัดจำหน่าย ขายขนมทองม้วน อร่อย สะอาด ราคาถูก นอกจากนี้เรายังมี ขนมดอกจอก และ กระยาสารท จำหน่ายอีกด้วย
สนใจติดต่อ 086 - 899 7075 หรือ 02 - 887 7676

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประวัติ ขนม ทองม้วน

วันนี้เรามาลองดูประวัติของขนมทองม้วนกัีนดีกว่า ว่ามีที่มาที่ไปยังไง

ทองม้วน เป็นขนมไทยแต่โบราณมีประวัติที่ยาวนานพอสมควร

เริ่มต้นจากสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับชาวต่างชาติ อย่างกลุ่มทวีปทางตะวันออกและตะวันตก ทำให้ประเทศไทยได้รับวัฒนธรรมในด้า่นต่างๆ เข้ามา สิ่งหนึ่งที่ได้รับมานั่นคือ ขนมและของหวาน ซึ่งส่วนมากขนมต่างๆมากมาย รวมทั้ง "ทองม้วน" ต่างมีต้นกำเนิดจากการรับเอาวัฒนธรรมของประเทศ โปรตุเกส มาดัดแปลง เพิ่มเติม เพื่อให้เหมาะสมกับ วัฒนธรรม การดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ วัตถุดิบ ข้าวของเครื่องใช้ เอกลักษณ์ รสนิยม และอุปนิสัยในการบริโภคอาหารของประเทศไทยเราเอง

ครั้งในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีบาทหลวงชางฝรั่งเศส ชื่อ "เดอโลลีเยร์" ได้ทำบันทึกรายงานถึงระดับความมีหน้ามีตา และรสนิยมการบริโภคขนมหวานของชาวโปรตุเกสในสมัยกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งราชสำนักสยามถึงกับต้องเกณฑ์ขนมหวานจาก หมู่บ้านโปรตุเกส เข้าไปในพระราชวัง เนื่องในโอกาสฉลองวันนักขัตฤกษ์ต่างๆ เป็นจำนวนมาก ดังความตอนหนึ่งว่า

"พวกเข้ารีตบางครัว ต้องถูกเกณฑ์ให้ทำของหวานแก่พระเจ้าแผ่นดิน ในวันนักขัตฤกษ์ ในวันชนิดนี้พระเจ้ากรุงสยามก็มีรับสั่งให้พวกเข้ารีตนี้ ทำของหวานเป็นอันมาก อ้างว่าสำหรับงานนี้งานนั้น เป็นต้นว่า สำหรับพิธีล้างศีรษะช้าง ซึ่งถือว่าเป็นพระองค์หนึ่ง หรือสำนักงานไหว้พระพุทธบาทดังนี้"

อาจด้วยเป็นพระราชประสงค์ที่มีรับสั่งตรงมาจากราชสำนักสยาม ทำให้ มาดามดอนญา มาเรีย กิอูมาร์ เดอ ปินา ภรรยาเจ้าพระยาวิชเยนทร์ฟอลคอน ซึ่งรับหน้าที่แม่บ้านหัวเรือใหญ่จัดอาหารเลี้ยงรับรองราชอาคันตุกะต่าง ประเทศที่เข้ามายังกรุงศรีอยุธยามากมาย จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ท้าวทองกีบม้า (เพียนมาจากชื่อ "กิอูมาร์") ดำรงค์ตำแหน่งวิเศสกลาง ถือศักดินา 400 เป็นผู้กำกับการพนักงานของหวานในพระราชวัง

อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน ชาวตะวันตกอีกผู้หนึ่งที่บันทึกการเดินทางเกี่ยวกับเรื่องของ ท้าวทองกีบม้าว่า

"ข้าพเจ้าได้เห็นท่านผู้หญิงของฟอลคอนในปี พ.ศ.2262 เวลานี้ท่านได้รับเกียรติเป็นต้นห้องเครื่องหวานของพระเจ้าแผ่นดิน ท่านเกิดในกรุงสยามในตระกุลอันมีเกียรติ และในเวลานั้นท่านเป็นที่ยกย่องนับถือแก่คนทั่วไป"

ช่วงชีวิตหนึ่งของ "ท้าวทองกีบม้า" ได้เข้าไปรับราชการในพระราชวังในตำแหน่ง "หัวหน้าห้องเครื่องต้น" เป็นผู้ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์ และเก็บผลไม้ของเสวย มีพนักงานอยู่ใต้บังคับบัญชาเป็นหญิงล้วน จำนวน 2,000 คน ซึ่งเธอก็ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตลอดมา จนเป็นที่ชื่นชม ยกย่อง มีเงินคืนทองพระคลังปีละมากๆ ระหว่างที่รับราชการนี่เอง "ท้าวทองกีบม้า" ได้สอนการทำขนมหวานจำพวก ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองพลุ ทองโปร่ง ทองม้วน ขนมฝรั่ง ขนมไข่เต่า ขนมสัมปันนี ขนมหม้อแกง ขนมผิงและอื่นๆ ให้กับผู้ที่ทำงานอยู่กับเธอ และบุคคลเหล่านั้น จึงได้นำวิชา่ความรู้ในการทำขนมต่างๆมาถ่ายทอดให้กับคนไทยรุ่นสู่รุ่น นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้

ปัจจุบันขนมทองม้วนถูกดัดแปลงไปเยอะมาก มีหลากหลายสูตร หลากหลายรส เช่น ใส่ผักชี ใส่หมูหยอง เป็นต้น รวมทั้งการบรรจุภัณฑ์ จากเมื่อก่อน หลายคนคงยังจำได้ว่า มักจะพบเห็นทองม้วนใส่ไว้ในปี๊บสังกะสี ปัจจุบันมีแพคใส่ห่อ ใส่กล่องอย่างสวยงามน่ารับประทาน

ยังไงวันนี้เราก็พอจะรู้ประวัติของ ขนมทองม้วนกันแล้วนะครับ